แบบสอบถามเรื่อง ความสนใจของประชาชน ในการมีส่วนร่วมทางกฎหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมุนไพรไทย


ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)


ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทรา
เนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อ
หรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วง
สีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน

แหล่งที่พบ
พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ

สารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)

สรรพคุณ
รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง
ตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทน
แข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาว
ส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองของสุกัญญา ปาจิตต์

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน















ซึ่งจะนำไปสู่ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ สมดุล มั่นคง และยั่งยืนคำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรแกนกลางขึ้นพื้นฐานได้ดังนี้
โดยประยุกต์เข้ากับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี และวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3)- เริ่มมีการให้เด็กนักเรียนฝึกพึ่งตัวเอง โดยการทำงานเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ- ให้เด็กความมีระเบียบวินัย และนิสัยการอดออม เช่น ตั้งกฎว่าให้หยอดกระปุกออมสินวันละบาท เพื่อสร้างนิสัยที่สม่ำเสมอ- ฝึกให้รู้จักการเข้าสังคม โดยการตั้งกฎเกณฑ์การอยู่รวมกัน เพื่อให้เด็กนักเรียนอยู่ร่วมกัน โดยพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อปลูกฝั่งให้เด็กลดนิสัยการเห็นแก่ตัว และการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6)- ปลูกฝั่งให้มีความรับผิดชอบ และพึ่งตัวเองมากขึ้น- เริ่มให้เด็กนักเรียน ทำบัญชีรายรับ - จ่าย อย่างง่ายๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้รู้ว่าตนเองใช้จ่ายไปแต่ละวันเท่าไร- เริ่มปลูกฝั่งให้เด็กนักเรียนทำงานเป็นหมู่คณะ เพื่อให้เด็กรู้จักรับฟังความคิดเห็นส่วนรวม มากกว่าส่วนตน- สามารถเลือกบริโภคได้อย่างฉลาด มีเหตุผล ถูกต้องและพอดีช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)- ควรปลูกฝั่งให้เด็กรู้จักเรื่องผิดชอบชั่วดีมากขึ้น เพื่อให้เด็กละความชั่วทำแต่ความดี และเดินไปในทางที่ถูกที่ควร- เด็กรู้จักการวางแผนการดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางที่ถูกที่ควร- เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน- เริ่มมีความรู้ความสามารถในการลงทุน การทำงาน เพื่อให้สามารถทำงานหรือใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)- มีความรู้ในการเลือกซื้อและผลิตสินค้า เพื่อหารายได้เลี้ยงชีพตนเอง และแบ่งเบาภาระครอบครัว- มีเหตุผลในการตัดสินปัญหาได้อย่างถูกต้อง และรอบคอบ- สามารถวางแผนอนาคตของตัวเองได้อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาอย่างรอบคอบ- สามารถช่วยเหลือคนในสังคม ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน- เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และดำเนินชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกัน เพื่อพัฒนาตนเองเป็นคนดีของสังคมจากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้นั้น ก็เพื่อการพัฒนาทั้งตัวเองและสังคมให้มีความสมดุลและยั่งยืน ซึ่งทั้งนี้การปลูกฝั่งแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้แก่เด็กนั้น ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กมีความรับผิดชอบ มีความพอเพียงและภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อพัฒนาตนไปในทางที่ถูกที่ควร
แหล่งที่มาข้อมูล :http://learners.in.th/blog/ittiwat1205/328288



ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง




ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี


แหล่งที่มาhttp://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm












กองพลพัฒนาที่ ๑ เป็นหน่วยงานพัฒนาของกองทัพบก ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบงานพัฒนาประเทศโดยเฉพาะ ปัจจุบันได้รับมอบภารกิจ ให้รับผิดชอบงานที่สำคัญ ๓ ประการ คือ งานพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานด้านการก่อสร้างเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาด้านต่าง ๆ และสุดท้ายคืองานด้านการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนที่ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ สำหรับงานพัฒนาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและถือว่าเป็นงานที่กองพลพัฒนาที่ ๑ มีความภาคภูมิใจมากที่สุด นั่นก็คือ งานพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งกองพลพัฒนาที่ ๑ ได้รับมอบหมายจาก กองทัพภาคที่ ๑ ให้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เข้าปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ของจัวหวัดราชบุรี และ จังหวัดเพชรบุรี รวม ๔ โครงการ โดยมีภารกิจหลัก คือ เป็นหน่วยประสานการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานแต่ละโครงการ ดำเนินงานไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ สำหรับโครงการที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ สิริกิติ์ และ โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง ส่วนในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี ๒ โครงการ ได้แก่ โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย และ โครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริจัดตั้งขึ้นด้วยความจงรักภักดีร่วมกันของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,กองทัพบก จังหวัดราชบุรี และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อถวายในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบในปี ๒๕๓๕ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปณิธาน “ ขอให้สร้างป่า โดยมีคนอาศัยอยู่ด้วยโดยไม่ทำลายป่า คือ ต้องช่วยเขาเหล่านั้นจริงๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร เช่น มีที่ดิน,ทำกิน, มีน้ำ , ให้การศึกษา ส่งเสริมงานศิลปาชีพต่างๆ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเขาอยู่ได้แล้วเขาจะได้ช่วยดูแลป่า ” อันเป็นที่มาของพื้นที่รวบรวมพันธุ์ไม้ป่า และพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟู รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของราษฎรในพื้นที่ พื้นที่ดำเนินการของโครงการประกอบด้วย สวนป่าสิริกิติ์ ภาคกลาง ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่บริเวณ แก่งส้มแมว บ้านห้วยม่วง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง มีเนื้อที่ ๓,๐๐๐ ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นผืนป่าแห่งเทือกเขาตะนาวศรีที่กระจายทิวเทือกเขาอย่างสลับซับซ้อนเป็นแนวกั้นเขตแดนไทย – พม่า สภาพโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ดินส่วนใหญ่มีความตื้น สภาพป่าไม้ดั้งเดิมเป็นป่าเต็งรังผสม มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ เต็ง , รัง , รกฟ้า แดง , ประดู่ , มะค่าแต้ ตีนนก ฯลฯ และมีไม้พื้นล่างเป็นไผ่รวก ไผ่เพ็ก พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามด้วยเกาะแก่งและลวดลายหินกลางลำน้ำ ที่เรียกกันตามพืชพรรณไม้ท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นว่า “ แก่งส้มแมว ” สภาพโดยรอบเต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติและพันธุ์ไม้ ซึ่งบัดนี้กลายเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าอันกว้างใหญ่สำหรับผู้รักษ์ป่าและพันธุ์ไม้ และด้วยร่มเงาของป่าที่เติบโต สูงใหญ่ และชุ่มชื้น อันเกิดจากการฟื้นฟูและการปลูกป่า ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า สมเด็จพระนางเจ้า ฯ สิริกิติ์ แห่งนี้ จึงเป็นแหล่งพักพิงของนกกว่า ๑๐๐ ชนิด เหมาะสำหรับนักดูนกอีกแห่งหนึ่ง อีกทั้งบรรยากาศแห่งธรรมชาติยังเหมาะสำหรับการมาเยี่ยมเยียนของนักท่องเที่ยว ซึ่งแวะเวียนเข้ามาชื่นชมภายในศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า แห่งนี้ไม่ขาดระยะ สำหรับพื้นที่สวนป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อีกพื้นที่หนึ่ง ได้แก่พื้นที่ดำเนินการอนุรักษ์ป่าเพื่อจัดทำเป็น “ อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ” ณ บริเวณบ้านไทยประจัน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ต่อมาเมื่อประมาณปี ๒๕๓๗ คณะทำงานโครงการฯ เห็นว่า ระหว่าง สวนป่าสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ ภาคกลางและอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน มีช่องว่างถ้าหากปล่อยไว้อาจจะทำให้ ราษฎรที่อยู่รอบๆ ป่าผืนนี้บุกรุกพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ขอขยายพื้นที่โครงการฯ ที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อีก ประมาณ ๗๙ , ๗๔๖ไร่ โดยรวมกับพื้นที่ดำเนินการเดิม ๑๓๖ , ๒๕๐ ไร่ ซึ่งรวมพื้นที่ดำเนินการในปัจจุบัน ๒๑๕ , ๙๙๖ ไร่ กองพลพัฒนาที่ ๑ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการอำนวยการและประสานงาน ได้จัดกำลังพล จำนวน ๒๙ นาย และยุทโธปกรณ์ เป็นชุดปฏิบัติการ เพื่อประสานการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ จำนวน ๓ ชุดปฏิบัติการ โดย ชุดปฏิบัติการที่ ๑ มีที่ตั้งอยู่บริเวณ แก่งส้มแมว บ้านห้วยม่วง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง, ชุดปฏิบัติการที่ ๒ มีที่ตั้งอยู่ที่ บ้านไทยประจัน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ และชุดปฏิบัติการที่ ๓ มีที่ตั้งอยู่ที่ บ้านโป่งกระทิง ตำบลบ้านบึง กิ่งอำเภอบ้านคา
แหล่งที่มาข้อมูล :http://www.rta.mi.th/21600u/DATA/praratchadamri.htm





หลักพึ่งตนเอง การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ให้ได้ผลในการดำเนินชีวิต เริ่มต้นจากการมีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ถึงความหมายหลักการสำคัญ และประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่น ทั้งจากการปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น จากการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การตระหนักรู้นี้ จะนำไปสู่การทดลอง นำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ในการดำเนินชีวิตประจำวันในแง่มุมต่างๆ ซึ่งต้องอยู่บนรากฐานของทางสายกลาง ความพอประมาณและการใช้ สติ – ปัญญา ในการตัดสินใจและการปฏิบัติตน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอควร โดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีในที่สุด ทั้งนี้ ระดับความพอเพียงของแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขของแต่ละบุคคลนั้นๆ






ทฤษฏีใหม่














การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นและส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยใช้แนวคิดแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ของประเทศไทย ได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้มีชีวิตอยู่โดยหลุดพ้นบ่วงแห่งความยากจนโดยหลักการคือ การแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกนั้น ให้ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 30% ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากการเกษตร จำเป็นต้องใช้น้ำ ส่วนที่สอง ให้ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่เพราะครอบครัวต้องกินต้องใช้ สำหรับเป็นแหล่งอาหารหลัก ส่วนที่สาม ให้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เก็บดอกผลไว้กินไว้ขาย เสริมสร้างรายได้ส่วนหนึ่งอีกทาง และส่วนที่สี่ เป็นพื้นที่สำหรับใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่งได้ตามสะดวกตัวอย่างคือ มีที่นาอยู่ที่ 4 ไร่ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน อาจจะได้ประมาณส่วนละ 1 ไร่ แต่ให้พิจารณาถึงความจำเป็นและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ด้วย หากพื้นที่โดยรอบแห้งแล้วกันดาร ให้เผื่อเนื้อที่ของการปลูกต้นไม้ยืนต้นและสระเก็บน้ำมากหน่อย เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็น และหากมีแต่น้ำแต่ผืนดินไม่ชุ่มชื้นเพราะขาดต้นไม้ให้ร่มเงา น้ำก็จะขาดแคลน การแบ่งพื้นที่ดังตัวอย่างมีดังนี้พื้นที่ส่วนที่ 1 จำนวน 1.2 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำได้มาก เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น หากพื้นที่กว้างใหญ่ เช่นมีเนื้อที่ประมาณ 12-13 ไร่ การขุดสระโดยใช้พื้นที่ถึง 3-4 ไร่นั้นยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ หรือหาพลังงานเชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว สำหรับพื้นที่เล็กๆ ประมาณ 1-2 ไร่ สามารถทำเป็นท้องร่องได้โดยกะให้กว้างพอประมาณไม่ให้แคบเกินไปเพราะเนื้อที่แคบน้ำจะขาดแคลนพื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปลูกข้าว การปลูกข้าวด้วยพื้นที่ 1 ไร่ควรใช้วิธีการดำนา หรือ การปลูกข้าวต้นเดียว เพราะจะให้ผลผลิตดี ปริมาณมากกว่าการปลูกข้าวแบบหว่านปกติ เนื่องจากการปักข้าวลงดินเองจะทำให้ข้าวมีผลผลิตดี การเตรียมดิน และปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน และไถกลบ เริ่มแรกอาจมีการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนเนื่องจากถั่ว เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เจริญเติบโตเร็ว หลังเก็บเกี่ยวสามารถไถกลบและซังพืชจะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้นาข้าวพื้นที่ส่วนที่ 3 มีทั้งหมด 1.5 ไร่ ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยสามารถปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกพืชผัก ปลูกไม้ใช้สอย เช่น ต้นสัก ต้นไผ่รวก ไผ่ตง หรือ ต้นหวาย โดยทั้งนี้พื้นที่การปลูกอาจใช้พื้นที่ทั้งหมดที่เหลือโดยพื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือนก็สามารถปลูกคร่อมพื้นที่ส่วนที่ 3 ได้เช่นเดียวกันพื้นที่ส่วนที่ 4 นี้มีพื้นที่เหลือประมาณ 3 งาน สามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เล็กๆ ใต้ถุนเรือน หรือผสมผสานในการปลูกบ้านเรือนยกสูงบนสระน้ำ ให้ใต้ถุนเป็นคอกเลี้ยงเป็ดไก่ หมู ติดกับสระน้ำ โดยในน้ำก็มีการเลี้ยงปลาดุกปลานิลผสมกัน เป็นแนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาอาศัยเกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่มากเกษตรทฤษฎีใหม่คือแนวทางที่ยั่งยืน โดยที่แต่เดิมจะเหมาะกับเกษตรกรที่มีพื่นที่ทางการเกษตรค่อนข้างมากพอสมควร แต่สำหรับเกษตรกรที่มีมีพื้นที่ไม่มากนัก ก็สามารถที่จะทำได้โดยการลดหลั่นของพื้นที่ทำกินในแบบผสมผสานพึ่งพาอาศัย
แหล่งที่มาข้อมูล :http://www.vwander.com/save/2010/03














วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลส่วนตัวของสุกัญญา นะจ๊ะ


ชื่อ นางสาวสุกัญญา ปาจิตต์
ชื่อเล่น นู๋นุ้ยจร้า
เกิด วัน พุธ ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ 2532
อายุ 21 ปี
ศึกษาอยู่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์
สิ่งที่เบื่อและเกลียดที่สุด เกลียดคนเอาเปรียบ ,ไม่รู้จักเห็นใจคนอื่น
คติประจำใจ อย่าคิดว่าทำไม่ได้จนกว่าจะเริ่มทำ
เว็ปไซต์ที่เข้าเยี่ยมชมบ่อย 10 เว็ปไซต์
อันดับ 1 http://www.google.com/
อันดับ 2 http://www.hi5.com/
อันดับ3 http://www.hotmail.com/
อันดับ 4 http://www.sanook.com/
อันดับ5 http://www.kpru.ac.th/
อันดับ6 http://www.naza.com/
อันดับ7 http://www.blogger.com/
อันดับ8 http://www.thaimail.com/
อันดับ 9 http://www.thaiman.co.cc/
อันดับ 10 http://www.facebook.com/